ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศแบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ
ลักษณะของ DSS
1) ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ2) ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลใน DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis
3) ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ดังนั้น DSS จึงมีลักษณะการโต้ตอบได้ (interactive)
4) เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆ ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
5) จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
6) นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นข้อความและกราฟฟิค
Sensitivity Analysis
DSS มีความสามารถในการวิเคราะห์ในลักษณะที่เรียกว่า Sensitivity Analysis ซึ่งเป็นการศึกษาถึงผลการเปลี่ยนแปลงของโมเดลส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายๆ ส่วน โดยปกติจะดูว่าถ้ามีการเปลี่ยนแปลงตัวแปรด้านปัจจัยนำเข้าจะส่งผลต่อตัวแปรด้านผลผลิต (output) อย่างไรSensitivity Analysis มี 2 ประเภทที่สำคัญ คือ (Turban et al.,2001)
1) What-if analysis เป็นการวิเคราะห์ว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงของ ปัจจัยนำเข้าจะมีผลกระทบต่อผลผลิตอย่างไร เช่น หากงบประมาณด้านโฆษณาเกินกว่าที่ประมาณการไว้ 5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแบ่งการตลาดจะเป็นอย่างไร
2) การวิเคราะห์หาเป้าหมาย (Goal-seeking analysis) เป็นการวิเคราะห์แบบถอยหลัง (backward solution) เป็นการวิเคราะห์ว่ามูลค่าของปัจจัยนำเข้าควรเป็นเท่าไรจึงจะบรรลุเป้าหมายด้านผลผลิตในระดับที่ตั้งไว้ เช่น ผู้บริหารอาจจะต้องการทราบว่าถ้าต้องการกำไร 2.7 ล้านบาท จะต้องมีปริมาณขายจำนวนเท่าไร ซึ่งการหาเป้าหมายนั่นเอง
ส่วนประกอบและโครงสร้างของ DSS
ระบบ DSS มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ การจัดการด้านข้อมูล (Data management) การติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์ (user interface) และการจัดการโมเดล (model management) (Turban et al.,2001)1) การจัดการข้อมูล (Data management) ประกอบด้วย ฐานข้อมูลและวิธีการดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในการตัดสินใจมาใช้ โดยข้อมูลเหล่านี้อาจจะมาจากดาตาแวร์เฮาส์ของบริษัท หรือฐานข้อมูลปกติทั่วไป หรือจากแหล่งภายนอกก็ได้
2) การติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์ (User interface) การติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารและสั่งงานระบบ DSS ได้รูปแบบที่ง่ายที่สุดอาจจะใช้โปรแกรมสเปรดชีท (spreadsheet) หรืออาจจะใช้รูปภาพกราฟฟิคก็ได้
3) การจัดการโมเดล (Model management) ซึ่งประกอบด้วยซอฟต์แวร์ด้านการเงิน สถิติ หรือโมเดลเชิงปริมาณอื่นๆ ซึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์
4) การจัดการกับความรู้ (Knowledge management) เป็นระบบที่ช่วยป้อนความรู้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาเฉพาะ ระบบนี้จะมีเฉพาะ DSS บางประเภทเท่านั้น
ประเภทของ DSS
ระบบ DSS จัดแบ่งตามจำนวนของผู้ใช้ได้เป็น 2 ประเภท คือ ระบบมีที่สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล ซึ่งเรียกว่า Executive Information Systems (EIS) และระบบที่สนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่ม (Group Decision Systems) นอกจากนี้ยังมี DSS ประเภทอื่นๆ อีก เช่น ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems-GIS) และระบบ Expert SystemsExpert Systems
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น